วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปธ.โครงการคืนคุณแผ่นดิน เปิดงานแถลงข่าวพร้อมเสวนา “แอปพลิเคชั่น M-Help Me แจ้งเหตุการละเมิดทางเพศเด็ก”


ปธ.โครงการคืนคุณแผ่นดิน เปิดงานแถลงข่าวพร้อมเสวนา “แอปพลิเคชั่น M-Help Me แจ้งเหตุการละเมิดทางเพศเด็ก”

วันที่ 4 ธันวาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้อง Salon A ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล รัชดาภิเษก จ.กรุงเทพฯ มีการจัดงานแถลงข่าว “แอปพลิเคชั่น M-Help Me แจ้งเหตุการละเมิดทางเพศเด็ก” และการเสวนาในหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อตอบสนองความช่วยเหลือคดีอาชญากรรมต่อเด็กในอนาคต” โดยมี คุณประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน ผู้คิดค้นและเจ้าของลิขสิทธิ์ แอปพลิเคชั่น “M-Help Me” , นางสาวอรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็ก, พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธร ภาค 6, พ.ต.ท.ณัฎฐกิตต์ พร้อมมูล รองผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรภาค 6, คุณวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, พ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์  ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี, คุณวาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย, ร.ต.อ. เขมชาติ ประกายหงส์มณี รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เข้าร่วมงานแถลงข่าวและการเสวนาในครั้งนี้



คุณประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น  “M-Help Me”  ตระหนักรู้ ตระหนักคิด จิตอาสา จะเป็นตัวกลางในการรับแจ้งเบาะแสของผู้เสียหาย โดยผู้พิทักษ์เด็กสามารถแจ้งเบาะแสได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ถ่ายภาพผู้ต้องสงสัย เหตุที่พบเป็นแบบไหน เช่น พบการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก , พบการเผยแพร่ / ส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก , พบการผลิตสื่อลามกอนาจารเด็ก , การล่อลวงเด็ก เพื่อละเมิดทางเพศ  ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ และกดส่ง
2. ติดตามเรื่อง ความคืบหน้าเรื่องที่แจ้งเบาะแส
3. ข้อแนะนำ เป็นข้อมูลความรู้จากหน่วยงานต่างๆ เช่น เหตุเกิดแล้วจะทำยังไง  , การขอความช่วยเหลือ , ผู้ปกครองช่วยอะไรได้บ้าง , เราทุกคนช่วยกันป้องกันได้ , วิธีป้องกันตัวเบื้องต้น หากตกอยู่ในความเสี่ยงถูกข่มขืน เป็นต้น
โดยหลังจากนี้ แอปพลิเคชั่น  “M-Help Me”  จะมีการพัฒนาระบบสามารถแชทออนไลน์ แจ้งการกระทำความผิดอย่างอื่นได้ เช่น การเปิดผับเกินเวลาที่กำหนด , แจ้งการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย , พบเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีในสถานที่เที่ยว เป็นต้น



กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ดูแลบ้านพักเด็กและครอบครัวทั่วประเทศ ซึ่งเป็นบ้านพักฉุกเฉินให้กับเหยื่อผู้เสียหาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก และ พ.ร.บ. ค้ามนุษย์ ฉะนั้นเหยื่อที่เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือมาแล้วผู้บังคับกฎหมายจะต้องส่งเข้าบ้านพักทุกกรณี ซึ่งบ้านพักจะเป็นหน่วยแรก โดยมีการเปิดให้บริการถึง 1,300 ที่ สามารถแจ้งเหตุได้ 24 ชม. ซึ่งตัวแอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” จะเป็นตัวช่วยรับเคส กรณีผ่านทางออนไลน์ให้กับทางกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เนื่องจากโทรศัพท์เป็นเครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัวในการขอความช่วยเหลือที่ง่ายที่สุดซึ่งทำให้มีโอกาสในการแจ้งเหตุได้ง่าย และแอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” เปรียบเสมือนเป็นตัวเชื่อมข้อมูลไปยังบ้านพักเด็กเพื่อให้เด็กที่เป็นผู้เสียหายได้รับบริการและการช่วยเหลือที่ทั่วถึงมากขึ้น



กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค  6 ในกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ซึ่งกำหนดว่าใน 1  กิจกรรมของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เราต้องดีไซน์รูปแบบหรือโมเดลการทำงานสำหรับว่ามีสื่ออะไรที่สร้างสรรค์ ดังนั้นแอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” เป็น 1 ในสิ่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ในเรื่องของการรับแจ้งช่วยเหลือ ซึ่งประสบความสำเร็จกับงานจราจรอยู่แล้ว เลยนำเทคโนโลยี แอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” มาใช้ในงานสืบสวนสอบสวนภูธรภาค 6 ซึ่งภูธรภาค 6 เป็นภาคเหนือตอนล่าง โดยตำรวจภูธรภาค 6 มีโครงการ “Stop Walk & Talk” ซึ่งตำรวจในพื้นที่จะคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว จึงได้เริ่มนำร่องที่ภูธรภาค 6 ก่อน ส่วนอนาคต มีส่วนต่อขยายอาจจะว่ากันอีกทีนึง ซึ่งมีที่มาจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีหน้าที่ในเรื่องของการสอบสวนกับกรมป้องกันปราบปรามในคดีสื่อลามกอนาจารเด็กและละเมิดทางเพศเด็กอยู่แล้ว ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงยินดีที่จะรับข้อมูลในการรับแจ้งมาทางแอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” ไปดำเนินการต่อโดยจะบูรณาการร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วน



กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นกองทุนของรัฐที่สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนดำเนินโครงการเพื่อขจัดสื่อร้ายและสร้างสื่อที่ดีซึ่งศูนย์กฎหมายเพื่อสังคมได้รับงบประมานส่วนของการขจัดสื่อร้ายกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งโครงการนี้เป็นยุทธศาสตร์ในการจัดทำข้อมูลร่วมกับภาค 6 ซึ่งต่อมาทาง แอปพลิเคชั่น  “M-Help Me” ในฐานะภาคเอกชนได้เข้ามา ช่วยเหลือในการจัดทำแอปพลิเคชั่นที่ง่ายและสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากยิ่งขึ้น โดยได้มีการขยายต่อในส่วนของการทำข้อมูลเฉพาะตัวเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ทำให้โครงการนี้สามารถขยายอกไปได้อีก โดยนอกจากผู้บังคับการใช้กฎหมายแล้วยังเข้าถึงประชาชนได้ ซึ่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ก็มีบทบาทในส่วนของงบประมานตั้งตนทั้งในงานประชุม วางแผนงาน ประสานเครือข่ายต่างๆ ซึ่งกองทุนสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงหรือมีส่วนช่วยขจัดสื่อร้ายในสังคมออกไปได้



สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนโดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ซึ่ง ปอท. มีบทบาทสำคัญในส่วนของผู้บังคับใช้กฎหมายด้านทางเทคโนโลยีที่ต้องใช้มาตรการหรือการดำเนินการพิเศษ เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องการห้ามนำสื่อลามกอนาจารเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ปอท. เองได้มีบทบาที่สืบสวนปราบปรามกรณีนี้และเป็นตัวแทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เข้ามาร่วมดำเนินการและคาดว่าจะเป็นผู้รับข้อมูลในการแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป



เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวขององค์กรพัฒนาเอกชน 40 กว่าองค์กร ที่ทำงานปกป้องคุ้มครองเด็กและขับเคลื่อนเชิงนโยบายให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ รณรงค์ให้ภาคประชาสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการแจ้งเหตุเพื่อให้เด็กผู้ประสบภัยได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นภาคีที่ร่วมช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กออกจากสถานการณ์เลวร้ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
สำหรับประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น M-Help Me ป้องกัน ช่วยเหลือ สื่อสารแจ้งเหตุการณ์ละเมิดทางเพศเด็กได้แล้ววันนี้
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท. 55 ปี)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครีม ศศิกานต์ กับบทบาทนักร้องเพลงลูกทุ่ง ในผลงานเพลง"วอนพระพรหม"

ลูกทุ่งน้องใหม่ไฟแรง ครีม ศศิกานติ์ หรือ น.ส.ศศิกานติ์ ตันสุวรรณ น้องครีม กับบทบาทนักร้องลูกทุ่งสาว ในผลงานเพลง "วอนพระพรหม" ...